วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562

ข่าว7 นักดาราศาสตร์ค้นพบน้ำเป็นครั้งแรกบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะในเขตเกื้อหนุนสิ่งมีชีวิต

นักดาราศาสตร์ค้นพบน้ำเป็นครั้งแรกบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะในเขตเกื้อหนุนสิ่งมีชีวิต

ทีมนักดาราศาสตร์ของสหราชอาณาจักรค้นพบว่า ดาว K2-18b ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากโลก 111ปีแสง มีน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญในชั้นบรรยากาศ
ถือเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบร่องรอยของน้ำ บนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่โคจรอยู่ในเขตเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต(Goldilocks Zone) กล่าวคือดาวเคราะห์อยู่ในระยะห่างจากดาวฤกษ์อย่างพอเหมาะ ทำให้มีอุณหภูมิไม่ถึงขั้นร้อนจัดหรือเย็นจัดมากเกินไป จนน้ำสามารถคงสภาพเป็นของเหลวอยู่ที่พื้.. อ่านเพิ่มเติม

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2562

ข้อสอบ pat2

ข้อสอบ Pat2



ข้อสอบ Pat2
42. เฉลย 2(ขอบคุณความคิดเห็นที่ 6 นะครับ)
เหตุผล เพราะ ทั้งสองต่างมีประจุบวก จึงต้องเคลื่อนที่ไปแนวเดียวกัน ตัดข้อ 1 ทิ้งเลย 
แต่ He มีมวลน้อยกว่า Ne จึงสามารถเลี้ยวเบนแล้วมีรัศมีการเลี้ยวเบนที่สั้นกว่า
43.  ตอบ ไม่มีคำตอบ หากพิจรณาตามข้อมูลในความเป็นจริงจะตอบข้อ 1
เหตุผล 
ธาตุ X เลขอะตอม 29 รู้ทันทีว่าคือ Cu เป็นธาตุทรานซิชั่นแถวแรกตัวที่ 9  เป็นของแข็ง และ E0 เป็นลบ จริงๆ อันนี้ขัดจากความจริงเพราะ Cu มีค่า E0 เป็นบวก
ธาตุ Y โมเลกุลอะตอมคู่ มี 7 ธาตุ คือ ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีน ไอโอดีน แต่โจทย์บอกว่า มีร้อยละ 20 ในอากาศ มันคือ ก๊าซออกซิเจนนั่นเองครับ 
ธาตุ Z เป็นแก๊สสีเขียว เป็นโมเลกุลอะตอมคู่แบบ Y 
ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีน ไอโอดีน มี 5 ธาตุ ที่เป็นก๊าซคือ ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ฟลูออรีน คลอรีน 
ส่วนโบรมีนเป็นของเหลว ไอโอดีนเป็นของแข็ง แต่โจทย์บอกมีสีเขียว  ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ฟลูออรีน เป็นก๊าซไม่มีสี ดังนั้นจึงเป็นก๊าซคลอรีน 
ดูทีละตัวเลือกนะครับ 
1.Cu+HCl----->ไฮโดรเจน ถูกต้องตามโจทย์ครับ เพราะ จะเกิดปฏิกิริยาได้จะต้องมีค่า E0 มากกว่าไฮโดรเจน(ซึ่งเท่ากับ0) แต่ในความเป็นจริง Cu E0 มันเป็นบวกครับ ข้อนี้จึงผิด 
2.Cu เกิดปฏิกิริยากับ Cl เป็นสารประกอบไอออนิก ถูกชัวร์ๆ เพราะ โลหะ+อโลหะ =พันธะไออนิก 
3.สารประกอบ X Y นั่นคือ Cl กับ O สภาพเป็นกรดเมื่อละลายน้ำ ข้อนี้ก็ถูกครับ คลอไรด์ของอโลหะ หรือออกไซด์ของอโลหะที่ละลายน้ำสมบัติเป็นกรด
4.ธาตุ X เกิดเป็นสารประกอบ
XBr2 ได้ ถูกครับ X คือ Cu มีเลขออกซิเดชั่นได้หลายค่า เกิดได้แน่นอนครับ
ข้อ 44 ตอบ ไม่มีคำตอบ แต่หากใช้ข้อมูลตามความเป็นจริงจะตอบ 4.ไอโซอิเล็กทรอนิก
พิจรณา Ar เลขมวล 40 เลขอะตอม=20 เพราะฉะนั้น โปรตอน=20 นิวตรอน=40-20 อิเล็กตรอน=20  (ในความเป็นจริง Ar เลขอะตอมเท่ากับ 18)
พิจรณา Sc เลขมวล 45 เลขอะตอม=21 ประจุ=+3   เพราะฉะนั้น โปรตอน=21 นิวตรอน=45-21=24 อิเล็กตรอน=21-3=18
ไอโซโทป คือ โปรตอนเท่ากัน
ไอโซโทน คือ นิวตรอนเท่ากัน
ไอโซบาร์ คือ เลขมวลเท่ากัน
ไอโซอิเล็กทรอนิก คือ อิเล็กตรอนเท่ากัน   <<<<<< จึงตอบ ข้อ 4

ข้อ 45 ตอบ 4.Li+
เหตุผล ไอออนหรือธาตุจะมีความเสถียรเมื่อมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนแบบก๊าซเฉื่อย
1.H+ 
2.He+
3.He2+    
4.Li+        จัดเรียงได้เป็น 2 ซึ่งเหมือนกับ He 

ข้อสอบ o-net

ข้อ 69 ตอบข้อ 1 เพราะ มีโปรตอน 9 แสดงว่าเลขข้างล่าง คือ 9 นิวตรอน 10 แสดงว่า เลขบน-เลขล่าง คือ 10

ข้อ 70 ตอบข้อ 1 เมื่อจัดเรียงอิเล็กตรอนแล้วจะได้ 2 7 คือ หมู่ 7 คาบ 2 นั่นคือ F ซึ่งอยู่ในรูปของ Diatomic molecule

ข้อ 71 ตอบข้อ 4 เพราะ ข้อ 1 2  ถูก ฟลูออรีนอยู่ในสถานะแก๊ส ไอออนมีประจุ -1 ซึ่งเมื่อเกิดสารประกอบกับ Ca ซึ่งเป็นโลหะ
ข้อ 29 ตอบข้อ 1 

ข้อ 30 ตอบข้อ 2 Cl2+H2O------->HClO(กรดไฮโปคลอรัส)+HCl(กรดเกลือ/กรดไฮโดรคลอริก)    
ข้อ 21 ตอบข้อ 4

ข้อ 1 ถูก อ้างอิงจากแบบเรียน สารและสมบัติของสารหน้า 30 เรื่องกรดนิวคลีอิก 

ข้อ 2 ถูก (ไม่มีในแบบเรียนสารและสมบัติของสาร)
ข้อ 22 ตอบข้อ 3

เหตุผล ก คือแป้ง ข คือ น้ำตาลทราย ค คือ เส้นใยพืช(ไหมเป็นเส้นใยสัตว์ ซึ่งถือเป็นเส้นใยโปรตีน) ง คือน้ำตาลอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่น้ำตาลทราย
อ 25 ตอบข้อ 1

การเกาะเกี่ยวของคู่เบสจะมีความจำเพาะเจาะจง คือ

อะนะดีน(A) กับ ไทมีน (T)

กวานีน(G) กับ ไซโตซีน (C) ......อ่านเพิ่มเติม

ข่าว 6 "จันทรายาน-2" ขาดการติดต่อก่อนลงจอดบนดวงจันทร์

"จันทรายาน-2" ขาดการติดต่อก่อนลงจอดบนดวงจันทร์
รอลุ้น! ภารกิจยานอวกาศจันทรายาน-2 ขององค์การวิจัยอวกาศของอินเดีย ขาดการติดต่อก่อนลงจอดบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ เมื่อช่วงเช้ามืด วันนี้ ( 7 ก.ย.) หลังออกเดินทางทางจากโลกเป็นเวลา 47 วัน
ความคืบหน้าภารกิจยานอวกาศจันทรายาน-2 ขององค์การวิจัยอวกาศของอินเดีย ซึ่งออกเดินทางทางจากโลกเป็นเวลา 47 วันตั้งแต่วันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา ก่อนเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา 
วันนี้ (7 ก.ย.2562) องค์การวิจัยทางอวกาศของอินเดีย (ISRO) ระบุว่า ทางองค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย ได้ขาดการติดต่อกับยานอวกาศจันทรา- 2 ขณะที่อยู่ห่างจากพื้นผิวดวงจันทร์เพียง 2.1 กม.เท่านั้น และเป็นช่วง 15 นาทีสุดท้ายก่อนลงจอดที่ดวงจันทร์ ซึ่งยังไม่สามารถสรุปได้ว่าภารกิจครั้งนี้ล้มเหลวหรือไม่ ทั้งนี้ตามเวลาที่องค์การวิจัยทางอวกาศของอินเดีย ระบุว่า จันทรายาน-2ิ จะลงจอดเวลาประมาณ 03.00-04.00 น. บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์  และขณะนี้ศูนย์ควบคุมภารกิจกำลังวิเคราะห์ข้อมูลกำลังวิเคร... อ่านเพิ่มเติม

ข่าว 5 เปิดห้องแล็บเพาะ “ยุงติดเชื้อ” มาลาเรียไวแว็กซ์ ต่อยอดวัคซีนต้าน

เปิดห้องแล็บเพาะ ยุงติดเชื้อมาลาเรียไวแว็กซ์ ต่อยอดวัคซีนต้าน


เปิดแล็บเพาะยุง คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างยุงต้านเชื้อ “มาลาเรีย” ที่ยังพบการระบาดอยู่ในหลายภูมิภาคของโลก รวมทั้งไทย หวังเป็นฐานผลิตยุง ส่งออกทั่วโลก เพื่อทดสอบวัคซีนป้องกันเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ไวแว็กซ์ กลายพันธุ์ดื้อยา
วันนี้ (28 ส.ค.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางเจตสุมน สัตตบงกช หัวหน้าโครงการวิจัยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล นำทีมข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์ ลงพื้นที่สำรวจห้องแล็บเพาะเลี้ยงยุงที่มีเชื้อมาลาเรีย สำหรับทดสอบวัคซีนป้องกันเชื้อมาลาเรียสายพันธุ์ไวแว็กซ์ที่มีปัญหากลายพันธุ์ดื้อยา ภายใต้โครงการ Malaria Infection Study in Thailand : MIST หลังสถานการณ์มาลาเรียทั่วโลกยังวิกฤต โดยมีคนเป็นไข้มาลาเรียมากกว่า 200 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเกือบ 400,000 คน ที่ตายด้ว... อ่านเพิ่มเติม

ข่าว 4 ยานจันทรายาน 2 เข้าสู่วงโคจรดวงจันทร์ เตรียมลงจอด 7 ก.ย.นี้

ยานจันทรายาน 2 เข้าสู่วงโคจรดวงจันทร์ เตรียมลงจอด 7 ก.ย.นี้
ยานจันทรายาน 2 เคลื่อนที่เข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ หลังจากยานถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศ มีกำหนดลงจอด 7 ก.ย.นี้ หากภารกิจสำเร็จอินเดียจะเป็นประเทศที่ 4 นำยานลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์
วันนี้ (23 ส.ค.2562) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เปิดเผยว่า ยานอวกาศจันทรายาน 2 (Chandrayaan 2) จากประเทศอินเดีย เคลื่อนที่เข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากยานถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศ เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ที่ผ่านมา และมีกำหนดลงจอดในวันที่ 7 ก.ย.62 นี้ หากสำเร็จ อินเดียจะเป็นประเทศลำดับ 4 ต่อจาก รัสเซีย อเมริกา และจีน ที่สามารถนำยานอวกาศลงจอดบนพื้นผิวดว.... อ่านเพิ่มเติม

ข่าว 3 "นาซา" เผยภาพ "ดาวพฤหัสบดี" คมชัดสุดตระการตา


"นาซา" เผยภาพ "ดาวพฤหัสบดี" คมชัดสุดตระการตา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) เผยภาพถ่าย "ดาวพฤหัสบดี" จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล บันทึกไว้เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.62 แสดงให้เห็นความสวยงามของจุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) อันเป็นเอกลักษณ์ของดาวดวงนี้
ลวดลายความปั่นป่วนของชั้นบรรยากาศที่มีมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการศึกษาชั้นบรรยากาศดาวพฤหั... อ่านเพิ่มเติม